• เอกอัครราชทูตต้อนรับผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ 

  • การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล วันที่ 4 พฤษภาคม 2567

  • เอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เยือนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี

  • เอกอัครราชทูตฯ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อสมเด็จพระราชาธิบดีตองกา

การจัดทำหนังสือมอบอำนาจ

1. หลักการ

 

1.1 ความหมายของการมอบอำนาจ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่ง (ผู้มอบอำนาจ) ประสงค์จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่สะดวกที่จะกระทำด้วยตนเอง จึงต้องให้บุคคลอีกคนหนึ่ง (ผู้รับมอบอำนาจ) ไปกระทำการแทน โดยมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าได้กระทำสิ่งนั้นเอง

 

1.2 ตัวอย่าง เช่น นาย ก ซึ่งอาศัยอยู่ที่ออสเตรเลีย ประสงค์จะนำชื่อบุตรไปเข้าทะเบียนบ้านที่สำนักงานเขตแห่งหนึ่งในประเทศไทย แต่ด้วยภาระหน้าที่ทางการงาน จึงไม่สะดวกจะเดินทางกลับไปยังประเทศไทยเพื่อไปติดต่อสำนักงานเขตได้ จึงต้องมอบอำนาจให้นางสาว ข ซึ่งอาศัยอยู่ที่ประเทศไทย นำชื่อบุตรไปเข้าทะเบียนบ้านให้ เป็นต้น

 

1.3 กรณีการทำหนังสือมอบอำนาจที่พบบ่อย เช่น

 

– การย้าย-เพิ่มชื่อเข้าทะเบียนบ้าน

– ให้บุคคลอื่นพาบุตรซึ่งอายุต่ำกว่า 20 ปีไปทำหนังสือเดินทาง

– ขอหนังสือรับรองความเป็นโสด

– ขอเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล

– ขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร

– ขอแก้ไขรายการในสูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนบ้าน

– ขอบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส

– ขอบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า

– ทำธุรกรรมเรื่องที่ดิน-โฉนด

– ทำธุรกรรมเรื่องอาคารชุด

– ขอหนังสือรับรองอาชญากรรมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

– ดำเนินการรับรองเอกสารต่าง ๆ ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

 

2. เงื่อนไขสำคัญ

 

2.1 ผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจต้องบรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปี ขึ้นไป)

 

2.2 ผู้มอบอำนาจต้องมาแสดงตนและลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่กงสุล

 

หมายเหตุ หากผู้มอบอำนาจไม่สามารถมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่กงสุลได้ (และจะขอทำหนังสือมอบอำนาจทางไปรษณีย์) ให้นำหนังสือมอบอำนาจ รวมถึงเอกสารประกอบต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานร้องขอหนังสือมอบอำนาจกำหนดไว้ไปผ่านการรับรองแบบ Authentication จากกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย (DFAT) ในรัฐที่ท่านพำนักอยู่เสียก่อน (เจ้าหน้าที่ DFAT อาจขอให้ท่านนำไปรับรองโดย Notary Public มาชั้นหนึ่งก่อนก็ได้ แล้วแต่กรณี)

 

3เอกสารที่ต้องใช้ในขอหนังสือมอบอำนาจ

 

3.1 คำร้องขอนิติกรณ์ (<— กดเพื่อดาวน์โหลด) ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน

 

3.2 หนังสือมอบอำนาจ ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน โดยให้ใช้แบบฟอร์มตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้

 

3.2.1 หนังสือมอบอำนาจทั่วไป (<— กดเพื่อดาวน์โหลด)

 

3.2.2 หนังสือมอบอำนาจสำหรับทำหนังสือเดินทางให้บุตรซึ่งอายุต่ำกว่า 20 ปี (<— กดเพื่อดาวน์โหลด)

 

3.2.3 หนังสือมอบอำนาจสำหรับทำธุรกรรมเรื่องที่ดิน-โฉนด (ท.ด. 21) (<— กดเพื่อดาวน์โหลด)

 

3.2.4 หนังสือมอบอำนาจสำหรับทำธุรกรรมเรื่องอาคารชุด (อ.ช. 21) (<— กดเพื่อดาวน์โหลด)

 

3.3 หนังสือเดินทาง หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มอบอำนาจ ที่มีอายุใช้งาน

 

3.4 หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี เช่น โฉนดที่ดิน (หากมอบอำนาจทำธุรกรรมเรื่องที่ดิน) สูติบัตรบุตร (หากมอบอำนาจนำชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้าน) เป็นต้น

 

หมายเหตุ สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเอกสารเพิ่มเติม ตามที่สถานเอกอัครราชทูตฯเห็นสมควร แล้วแต่กรณี

 

4. ช่องทางการขอหนังสือมอบอำนาจ

 

4.1 ยื่นคำร้องด้วยตนเอง ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ในวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00-12.30 และ 13.30-16.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ โดยสามารถสำรองคิวล่วงหน้าได้ คลิกที่นี่ เลือกหัวข้อ “นิติกรณ์และรับรองเอกสาร/Legalisation”

 

4.2 ยื่นคำร้องทางไปรษณีย์ กรุณาส่งซองไปรษณีย์ลงทะเบียนซองใหญ่ (A4-sized express pre-paid envelop) จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง มาให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย เพื่อที่เมื่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ดำเนินการเสร็จแล้ว จะได้ให้ส่งเอกสารให้ท่านต่อไป อย่างไรก็ตาม สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การยื่นคำร้องทางไปรษณีย์จะมีขั้นตอนเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ท่านจะต้องนำหนังสือมอบอำนาจ รวมถึงเอกสารประกอบต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานร้องขอหนังสือมอบอำนาจกำหนดไว้ไปผ่านการรับรองแบบ Authentication จากกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลีย (DFAT) ในรัฐที่ท่านพำนักอยู่เสียก่อน (เจ้าหน้าที่ DFAT อาจขอให้ท่านนำไปรับรองโดย Notary Public มาชั้นหนึ่งก่อนก็ได้ แล้วแต่กรณี)

 

5. ค่าธรรมเนียม 25 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ต่อ 1 ตราประทับ โดยสามารถชำระด้วยเงินสด หรือ Money Order สั่งจ่ายในนาม “Royal Thai Embassy, Canberra”

 

—————————————–