หนังสือเดินทางฉุกเฉิน

หนังสือเดินทางฉุกเฉิน
58 view

*สถานเอกอัครราชทูตฯ จะออกหนังสือเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Passport – EP) และเอกสารเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Travel Document – ETD) ให้แก่บุคคลที่ไม่มีหนังสือเดินทาง หนังสือเดินทางสูญหายหรือหมดอายุ และมีความประสงค์จะเดินทางในระยะใกล้ โดยไม่สามารถรอหนังสือเดินทางทั่วไป (ใช้เวลา 6-8 สัปดาห์) เล่มใหม่ได้ 

 

*หนังสือเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Passport – EP) มีอายุ 1 ปี

 

*เอกสารเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Travel Document – ETD) มีอายุใช้งาน 30 วัน ใช้งานได้ครั้งเดียว โดยใช้กลับเดินทางกลับประเทศไทยเท่านั้น

 

 

เอกสารที่ต้องเตรียม

หนังสือเดินทางสำหรับบุคคลทั่วไป (อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)

  • หนังสือเดินทางเล่มเดิม หรือ สำเนาในกรณีเล่มจริงสูญหาย
  • บัตรประจำตัวประชาชน ที่มีอายุใช้งาน ชื่อ-นามสกุลภาษาอังกฤษ ตรงกับหนังสือเดินทาง
  • บัตรโดยสารเครื่องบิน

เอกสารเพิ่มเติมสำหรับบุคคลทั่วไป (อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) กรณียังไม่มีบัตรประชาชน

  • สูติบัตรไทย (ต้นฉบับ)
  • หนังสือเดินทางหรือใบขับขี่ของออสเตรเลีย

หนังสือเดินทางผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุต่ำกว่า 20 ปี) 

เอกสารผู้เยาว์

  • ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ หรือบิดามารดา ต้องมาแสดงตนพร้อมผู้เยาว์ เพื่อลงนามให้ความยินยอมด้วย
  • สูติบัตรไทย
  • ทะเบียนบ้าน (กรณีทำหนังสือเดินทางเล่มที่สองขึ้นไป)
  • บัตรประชาชน (อายุ 7 ปีขึ้นไปต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน)
  • บัตรโดยสารเครื่องบิน

เอกสารผู้ปกครอง/บิดา/มารดา

  • บิดา/มารดาสัญชาติไทย บัตรประชาชน
  • กรณีบิดา/มารดาเป็นชาวต่างชาติ หนังสือเดินทาง หรือ ใบขับขี่

เอกสารเพิ่มเติมของผู้ปกครอง/บิดา/มารดา

  • หนังสือปกครองบุตร (ป.ค. 14) กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายไทย และผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของมารดา
  • ทะเบียนหย่าและบันทึกการหย่า กรณีที่ระบุให้บิดา หรือ มารดา มีอำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว
  • คำสั่งศาล กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และบุตรอยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดาที่ระบุให้บิดา หรือ มารดา มีอำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว
  • หนังสือรับรองบุตรบุญธรรม กรณีบิดา/มารดา รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
  • ใบมรณบัตร กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต
  • หนังสือให้ความยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ กรณีบิดาและมารดา และ/หรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ ไม่สามารถมาแสดงตนและลงนามให้ความยินยอมได้

          o   กรณีบิดาและมารดาอยู่ที่ประเทศไทย ให้บิดาและมารดาจัดทำหนังสือยินยอม โดยต้องไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่เขต/อำเภอ/หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น

          o   กรณีบิดาและมารดาอยู่ในต่างประเทศ ให้บิดาและมารดาจัดทำหนังสือยินยอมที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศนั้น

  • หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี กรณีทั้งบิดาและมารดา (หรือผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาแสดงตนและลงนามให้ความยินยอมได้ โดยมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่อายุ 20 ปีขึ้นไปเป็นผู้ลงนามแทน

กรุณาส่งเอกสารข้างต้นมาที่ [email protected] แล้วเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไป

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ +61 2 6206 0100 ต่อ 119 หรือ 121 และ [email protected]