วันที่นำเข้าข้อมูล 24 เม.ย. 2566
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 เม.ย. 2566
ความตกลงทางการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย หรือ Thailand-Australia Free Trade Agreement (TAFTA) มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมสินค้าทุกรายการที่ค้าขายระหว่างกัน รวมทั้งการเปิดตลาดด้านบริการ การลงทุน และความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการค้า มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 โดยกำหนดให้ไทยและออสเตรเลียเริ่มเปิดเสรีทางการค้าทั้งในด้านสินค้า การบริการ และการลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดของออสเตรเลีย และมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด เป็นต้น ความตกลง TAFTA กำหนดว่า ภายใน 3 ปี หลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้ จะต้องมีการเจรจาเพิ่มเติม/ทบทวนในประเด็นดังต่อไปนี้ 1) การค้าบริการ 2) นโยบายการแข่งขัน และ 3) การทบทวนมาตรการป้องกันพิเศษ นอกจากนี้ ความตกลงฯ ยังกำหนดให้มีการเจรจาเพิ่มเติมด้านการจัดซื้อโดยภาครัฐ สรุปผลความตกลงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2547 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548
ออสเตรเลียลดภาษีให้ไทยเหลือร้อยละ 0 จำนวนกว่า 5,000 รายการ หรือคิดเป็นร้อยละ 83 ของรายการสินค้า ส่วนที่เหลือทยอยลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี พ.ศ. 2553 และ 2558
สำหรับไทยลดภาษีประมาณร้อยละ 49 ของรายการสินค้าเหลือร้อยละ 0 ณ วันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ส่วนที่เหลือทยอยลดลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี พ.ศ. 2553 และ 2558
สำหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมบางรายการที่มีความอ่อนไหว เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า (ออสเตรเลีย) และเนื้อวัว เนื้อหมู นม เนย ชา และกาแฟ (ไทย) ภาษีจะเหลือร้อยละ 0 ภายใน พ.ศ. 2558 2563 และ 2568 โดยมีมาตรการปกป้องพิเศษ (special safeguards) สำหรับสินค้าบางรายการ
ออสเตรเลียให้ไทยเข้าไปลงทุนในธุรกิจทุกประเภทได้ร้อยละ 100 ยกเว้น หนังสือพิมพ์ การกระจายเสียง การขนส่งทางอากาศ และท่าอากาศยาน แต่หากเป็นการลงทุนเกิน 10 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียต้องขออนุญาตก่อน และได้ผ่อนคลายเงื่อนไขการให้บุคลากรไทยเข้าไปให้บริการได้ ส่วนไทยเปิดให้ออสเตรเลียถือหุ้นข้างมากได้ถึงร้อยละ 60 สำหรับกิจกรรมย่อยบางประเภท เช่น ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ หอประชุม มารีน่า และเหมืองแร่ เป็นต้น
สินค้าต้องมีคุณสมบัติของกฎถิ่นกำเนิดที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันไว้ก่อนในแต่ละรายการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1) สินค้าที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (wholly obtained) เช่น สินแร่ สินค้าเกษตรกรรม และสินค้าที่ได้จากสิ่งมีชีวิตในประเทศ และ 2) การแปรสภาพอย่างเพียงพอ (substantial transformation) โดยการเปลี่ยนพิกัด (Change of Tariff Classification) เพราะการแปรรูป และใช้วัตถุดิบภายในไทย/ออสเตรเลียเป็นสัดส่วนสำคัญในการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 40 หรือร้อยละ 45 ของราคาสินค้า
ความตกลงที่จะร่วมมือในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้การค้าระหว่างกันมีความโปร่งใส และคล่องตัวมากขึ้น เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการด้านมาตรการสุขอนามัยเพื่อแก้ไขปัญหาของสินค้าที่ติดมาตรการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ ความร่วมมือในด้านพิธีการด้านศุลกากร มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทางปัญญา และนโยบายการแข่งขัน โดยให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการจัดฝึกอบรม การสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรของทั้งสองประเทศ
การลดภาษีของประเทศออสเตรเลีย |
|
สินค้าเกษตร |
สินค้าอุตสาหกรรม |
ผักสด |
สินแร่ |
การลดภาษีของประเทศออสเตรเลีย |
|
สินค้าเกษตร |
สินค้าอุตสาหกรรม |
– เคมีภัณฑ์ (คงไว้ที่ร้อยละ 5 ในปี 2548) – เม็ดพลาสติก (คงไว้ที่ร้อยละ 5 ในปี 2548) – สบู่สิ่งปรุงแต่งที่ใช้ซักล้าง เทียน (คงไว้ที่ร้อยละ 4 ในปี2548) – กระสอบและถุงใช้บรรจุ (ลดเหลือร้อยละ 12.5 ในปี 2548) – รองเท้าและชิ้นส่วน (ลดเหลือร้อยละ 9 ในปี 2548) – ชิ้นส่วนยานยนต์ (ลดเหลือร้อยละ5 ในปี 2548) – เหล็กขึ้นรูปต่าง ๆ (คงไว้ที่ร้อยละ 4 ในปี 2548) – ผลิตภัณฑ์เหล็ก (คงไว้ที่ร้อยละ 5 ในปี 2548) – เครื่องปรับอากาศ (ลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548) – เครื่องรับวิทยุ (ลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548) – ยางรถยนต์ (ลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548) – ถุงมือยาง (ลดร้อยละ 5 ในปี 2548) – เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (ลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548) – เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด (ลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548) – ฝ้าย เส้นใยยาวและใยสั้นประดิษฐ์ (ลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548) – สักหลาดและผ้าไม่ทอ (ลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548) – แก้วและเครื่องแก้ว (ลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548) – เครื่องจักร (ลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2548) – อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ทัศนศาสตร์ (ลดเหลือร้อยละ 9 ในปี 2548 ลดเหลือร้อยละ 8 ในปี 2551 และเหลือร้อยละ 5 ในปี 2552) – เสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอ (ลดเหลือร้อยละ 12.5 ในปี 2548 และลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2553) – ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก (ลดเหลือร้อยละ 12.5 ในปี 2548 และลดเหลือร้อยละ 5 ในปี 2553) |
จุดเด่นของออสเตรเลีย |
โอกาสทางการค้า/ผลประโยชน์ |
|
1. |
เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และแร่ธาตุที่สำคัญ และอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก เช่น ทองคำ พลอย และเหล็ก เป็นต้น | อาจใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้ในการผลิต เช่น ทองรูปพรรณ อัญมณี และเครื่องประดับ และเหล็กเหล็กขึ้นรูปต่าง ๆ เป็นต้น |
2. |
มีความเจริญก้าวหน้าด้านวิชาการในแขนงต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นต้น | ความร่วมมือด้านวิชาการกับออสเตรเลียจะช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยีและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและแข่งขันให้กับประเทศไทย เช่น การเลี้ยงโคเนื้อ และโคนม เป็นต้น |
3. |
ปัจจุบันโครงสร้างการผลิตในประเทศจะมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อทดแทนจุดอ่อนในด้านค่าจ้างแรงงานที่สูง นอกจากนั้น มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่เดิมส่งออกในลักษณะวัตถุดิบ | เป็นการเปิดโอกาสในการเข้าสู่ตลาดสำหรับสินค้าที่ยังต้องการแรงงาน รวมทั้งอาจเป็นโอกาสสำหรับสินค้าประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยีต่าง ๆ |
4. |
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการค้ากับประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ | อาจใช้ออสเตรเลียเป็นฐานการกระจายสินค้าไปยังประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ |
5. |
มีฤดูกาลที่ตรงข้ามกับไทย | ผักผลไม้เขตร้อนแม้ว่าจะปลูกได้ในออสเตรเลีย แต่สินค้าจากไทยสามารถเข้าไปเสริมในช่วงนอกฤดูกาลของออสเตรเลียได้ เสื้อผ้าตามฤดูกาลจะมีช่วงส่งมอบที่ตรงข้ามกับยุโรป สหรัฐ ญี่ปุ่น จึงอาจช่วยให้ผู้ผลิตไทยสามารถใช้กำลังการผลิตได้เต็มที่ตลอดทั้งปี |
6. |
มีประชากรจากประเทศในแถบเอเชียซึ่งย้ายถิ่นฐานมายังออสเตรเลียจำนวนมาก | กลุ่มผู้บริโภคดังกล่าวเป็นกลุ่มผู้ซื้อสินค้าไทยที่สำคัญ โดยเฉพาะสำหรับสินค้าประเภทอาหารและผักผลไม้ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น |
สรุปความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีของไทย |
|
พันธกรณี/สถานะ |
ความคืบหน้าการเจรจา |
ไทย
– สินค้าร้อยละ 99.09 ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (สินค้าทุกรายการจะลดภาษีเป็นศูนย์ภายในปี 2568) – สินค้าบางรายการมีมาตรการปกป้องพิเศษจนถึงปี 2563 (เช่น เนื้อวัว เครื่องในวัว/หมู นมและครีมแบบผง เป็นต้น) และในรูปโควตาภาษีจนถึงปี 2568 (เช่น นมผง กาแฟ มันฝรั่ง น้ำตาล เป็นต้น) – เปิดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ถึงร้อยละ 60 ในบริการบางประเภท เช่น ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ หอประชุม และเหมืองแร่ ออสเตรเลีย – สินค้าทุกรายการลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว – เปิดให้ลงทุนทุกประเภท ยกเว้น หนังสือพิมพ์ การกระจายเสียง การขนส่งทางอากาศ และท่าอากาศยาน
|
– ไทยและออสเตรเลีย มีแผนที่จะประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการเข้าสู่ตลาด (MAIC) ครั้งที่ 4 ในปี 2562
– ไทยได้ปรับเพิ่มปริมาณโควตาเฉพาะและเพดานการนำเข้าสินค้านมบางรายการ ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2561 ได้แก่ นมผงขาดมันเนย หางนม (เวย์) ไขมันเนย และเนยแข็ง ซึ่งไทยมีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมและสำหรับบริโภคภายในประเทศ โดยเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงฯ นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังสนับสนุนการปรับตัวรองรับการเปิดตลาดนมและผลิตภัณฑ์แก่ไทย โดยได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางมาฝึกอบรมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้กับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์และเกษตรกร เมื่อเดือนเมษายน 2561 และเดือนมีนาคม 2562 – การค้าและบริการ: ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างหารือเรื่องรูปแบบ/แนวทางการเจรจา เพื่อเปิดตลาดสาขาบริการเพิ่มเติม |
ข้อมูล กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มิถุนายน 2562
จันทร์-ศุกร์ 8:30 - 16:30 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)